หน้าหลัก > บทความ > อาการคัดจมูก ในลูกรัก
อาการคัดจมูก ในลูกรัก
อาการคัดจมูก ในลูกรัก
04 Apr, 2021 / By Babiesoft
Images/Blog/BBiG5njb-File 4-11-2563 BE 20 57 53.jpg

อาการคัดจมูก ในลูกรัก

อาการคัดจมูก เกิดขึ้นจากการอักเสบของหลอดเลือดบริเวณโพรงจมูก ทำให้ผนังเยื่อบุโพรงจมูกบวม ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการคัดจมูกมีหลายประเภท เช่น โรคหวัด ภูแพ้ อาการติดเชื้อที่โพรงไซนัส ไข้หวัดใหญ่ สิ่งสำคัญในการป้องกันปัญหาแทรกซ้อนจากอาการคัดจมูกคือ การค้นหาสาเหตุและการรักษาอาการคัดจมูกที่เหมาะสมโดยเฉพาะ ในเด็กเล็ก อาการคัดจมูกสามารถรุนแรงจนกระทบต่อการได้ยินและพัฒนาการด้านการสื่อสาร สำหรับเด็กแรกเกิด (อายุน้อยกว่า 3 เดือน) จะยังไม่สามารถหายใจทางปากได้ ดั้งนั้นอาการคัดจมูกอาจส่งผลต่อการรับประทานนมหรืออาจส่งผลร้ายแรงถึงชีวิตได้นอกจากนี้ อาการคัดจมูกยังอาจส่งผลให้นอนหลับไม่เพียงพอ นอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้

คำแนะนำเบื้องต้น


อาจสูดดมไอน้ำจากฝักบัวอาบน้ำหรือกาน้ำร้อนเพื่อช่วยลดอาการคัดจมูก โดยต้มน้ำ 4-6 ถ้วย และใช้ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าขนหนูกางบริเวณเหนือศีรษะเพื่อกักเก็บไอน้ำให้มากขึ้น เพื่อประสิทธิที่ดี ควรทำติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 10-15 นาทีต่อครั้ง
ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ และอาจดื่มน้ำผลไม้เพื่อลดความขันเหนียวของน้ำมูก หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่ม ที่มีคาเฟอีนเนื่องจากอาจทำให้เกิดการสูญเสียน้ำมากขึ้นและทำให้อาการแย่ลง
นอนพักผ่อนในบริเวณที่มีความชื้นที่เหมาะสมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากความชื้นไม่เพียงพออาจใช้เครื่องทำไอระเหย หรือเครื่องปรับความชื้นอากาศ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ โดยเฉพาะหากอาการคัดจมูกมีสาเหตุจากไข้ละอองฟอง
สำหรับเด็กแรกเกิดเด็กเล็กที่จำเป็นต้องสั่งน้ำมูก แนะนำให้ใช้ลูกยางดูดน้ำมูก โดยอาจใช้น้ำเกลือ หยอดจมูกข้างละ 2-3 หยดเพื่อให้น้ำมูกเหลวขึ้นก่อนใช้ลูกยางดูดน้ำมูก
นอนหลับในท่าคว่ำหน้าจะช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกได้
ผลิตภัณฑ์น้ำเกลือชนิดสเปรย์สำหรับพ่นจมูกหรือน้ำเกลือที่พ่นด้วยตัวเอง มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการคัดจมูกที่ดี
แผ่นแถบกาวสำหรับแปะที่สันจมูกเพื่อเปิดโพรงจมูกให้กว้างขึ้น สามารถช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกและหาซื้อได้จากร้านขายยาหรือห้างสรรพสินค้าบางแห่ง
ปกป้องลูกรัก จากอาการคัดจมูก
อาการคัดจมูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อยในเด็กเล็กมักมีสาเหตุมาจาก ‘การติดเชื้อไวรัส’ ทำให้ไม่สบาย เป็นหวัด มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลตามมา แม้จะดูเหมือนเป็นอาการทั่วไปแต่ก็ส่งผลให้เด็กรู้สึกอึดอัด นอนไม่ได้ หายใจไม่ออก และงอแง ในบางกรณีหากเป็นมากอาจทำให้เด็กดูดนมไม่ได้ เนื่องจากต้องหายใจทางปาก สร้างความกังวลใจให้คุณแม่ไม่น้อย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีรับมือ ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเบื้องต้นเมื่อลูกน้อยของคุณมีอาการคัดจมูก

เมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ถ้าเป็นไม่มาก แนะนำให้ ‘ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ’ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ไม่ยากโดยให้เด็กนอนหงาย จากนั้นใช้น้ำเกลือหยอดลงในรูจมูกทีละนิด แล้วปล่อยให้น้ำเกลือไหลลงคอไป หรือใช้ไฟฉายส่องดู หากพบว่าน้ำมูกอ่อนนุ่มขึ้นก็สามารถใช้คอตตอนบัดเขียออกได้ การล้างจมูกด้วยวิธีนี้แนะนำให้ทำในช่วงที่เด็กท้องว่าง อย่าทำในขณะที่อิ่มนมใหม่ ๆ เพราะอาจทำให้เด็กสำรอกหรือสำลัก และห้ามใช้น้ำเปล่าล้างจมูกเพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

ถ้าจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ควรใช้ยาหยอดควบคู่ไปกับการล้างจมูก เพราะถ้าน้ำมูกมีปริมาณมาก ยาจะเข้าไปได้น้อย ทำให้บรรเทาอาการได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ คุณพ่อคุณแม่บางส่วนอาจใช้ลูกยางช่วยดูดน้ำมูกให้ลูก ซึ่งที่จริงแล้วช่วยได้ไม่มากนัก และไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ในเด็กเล็ก เพราะโพรงจมูกของเด็กยังเล็กและบอบบาง หากทำไม่เป็นอาจทำให้เกิดแผลในจมูกได้ นอกจากนี้ไม่แนะนำให้ใช้ยาแก้คัดจมูกหรือยาลดน้ำมูกชนิดรับประทานในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เนื่องจากยาบางชนิดมีผลข้างเคียงสูงในเด็กเล็ก ยกเว้นแพทย์สั่ง

หลังจากใช้น้ำเกลือล้างจมูก หากเด็กยังมีอาการคัดจมูกอยู่มาก ใช้ไฟฉายส่องดูแล้วพบว่าเยื่อจมูกบวกมากในกรณีนี้สามารถใช้ยาหยอดลดอาการคัดจมูก เช่น ออกซีเมาตาโซลีน (Oxymetazoline) ยากกลุ่มนี้เป็นยาใช้เฉพาะที่โดยใช้เป็นยาบรรเทาอาการช่วยให้เด็กหายใจได้สะดวกขึ้น ไม่ต้องทนทรมานกับอาการคัดจมูก

ในส่วนของการป้องกัน คุณพ่อคุณแม่สามารถปกป้องลูกรักจากอาการคัดจมูกได้ โดยไม่พาเด็กไปในสถานที่แออัดหรือมีผู้คนพลุกพล่าน หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น เช่น พาไปเยี่ยมคนป่วย เพราะภูมิคุ้มกันของเด็กยังไม่แข็งแรงพอจึงติดเชื้อได้ง่าย หากในบ้านมีคนป่วย ควรแยกให้ห่างจากเด็กมากที่สุด และควรล้างมือบ่อยๆ รวมทั้งสวมใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร์เชื้อ

ยาหยอดแก้คัดจมูกเฉพาะที่ ตัวยาออกซีเมตาโซลีน (Oxymetazoline) มีคุณสมบัติออกฤทธิ์อย่างรวดเร็วหลังหยอด และยังคุมอาการได้ยาวนานหลังหยอดยาเด็กจะรู้สึกหายใจโล่งสบายขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญคือคุมอาการได้ยาวนาน ทำให้คุณแม่ไม่ต้องหยอดยาให้ลูกบ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาที่ลูกหลับ การหยอดยาแก้คัดจมูกเฉพาะที่ก่อนนอนจะช่วยทำให้เด็กนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ยาตัวนี้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ควรใช้เฉพาะเมื่อมีอาการ และหยุดใช้เมื่อหายดี ซึ่งธรรมชาติของหวัดจะหายได้เองภายใน 7 วันอยู่แล้ว

โดยทั่วไปแล้วการดูแลและป้องกันอาการคัดจมูกในเด็กเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้เอง เพียงมีความรู้ความเข้าใจ และหมั่นสังเกตโดยใช้ไฟฉายส่องดูน้ำมูกและเยื่อจมูกของเด็กมีอาการไข้สูง ซึมลง มีน้ำมูกเขียวเกิน 1 สัปดาห์ มีอาการหอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีดผิดปกติ มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย (เช่น ผื่นขึ้น ท้องเสีย) หรือเป็นหวัดเกิดปีละ 4 ครั้ง และเป็นครั้งละนานๆ ควรไปพบแพทย์ เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพอย่างอื่นที่ไม่ใช่แค่หวัดธรรมดา



Cr. นิตยสาร NewParents Thailand by Health Today Thailand 2nd Edition 2019/2020 หน้า 78-79 ผลิตโดย บริษัท ทิมส์ (ประเทศไทย) จำกัด

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.